Warren Buffett เห็นอะไรใน Apple ถึงลงทุนกว่า 50% ของพอร์ตตัวเอง

Warren Buffett เห็นอะไรใน Apple ถึงลงทุนกว่า 50% ของพอร์ตตัวเอง

15 ม.ค. 2024
เมื่อพูดถึงนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จระดับโลก หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อ Warren Buffett นักลงทุนสาย VI (Value Investor) หรือนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า
ซึ่งไม่ว่า Warren Buffett จะลงทุนอะไรก็ตาม ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจกันทั้งนั้น
และเมื่อไปดูสัดส่วนการลงทุนจะพบว่า มีสัดส่วนกว่า 50.04% ของพอร์ตการลงทุนอยู่ในบริษัท Apple (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566)
คำถามคือ มีปัจจัยอะไรที่ทำให้ Warren Buffett เชื่อมั่นในบริษัทนี้
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจกัน
สำหรับ Apple ถือว่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม 2567) เป็นผู้พัฒนาและจำหน่ายคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน รวมไปถึงระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งตามปกติแล้วสไตล์การลงทุนของ Warren Buffett มักจะลงทุนในบริษัทที่เขาเข้าใจ หรือสามารถคาดการณ์ได้จริง ๆ และยังมีครั้งหนึ่ง เขาเคยกล่าวไว้ว่า เขายังไม่เข้าใจในบริษัทด้านเทคโนโลยีมากนัก จึงทำให้เขาหลีกเลี่ยงที่จะลงทุน
แต่หลังจากนั้น Warren Buffett
ได้เริ่มลงทุนในหุ้นของ Apple มาตั้งแต่ปี 2559 มาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็เป็นเพราะว่า …
1. Brand Loyalty
Warren Buffett ไม่ได้มอง Apple เป็นเพียงแค่เป็นบริษัทเทคโนโลยี แต่กลับมองว่าเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ และมี Brand Loyalty ต่อแบรนด์สูง ทำให้ไม่ว่าบริษัทจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในราคาที่สูงเพียงใด หรือจะมีตัวเลือกจากแบรนด์อื่น ๆ ในท้องตลาด สุดท้ายแล้ว ผู้บริโภคก็พร้อมที่จะจ่ายเงิน เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ของ Apple อยู่ดี ซึ่งจุดนี้ถือเป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบที่บริษัทอื่น ๆ อาจเทียบได้ยาก
2. Ecosystem Product and Service
Apple ยังมีสินค้าและบริการที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น เมื่อดูสินค้าต่าง ๆ ของบริษัท จะพบว่ามี Ecosystem ที่ไม่ได้มีเพียงแค่สมาร์ตโฟน หรือคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงบริการอื่น ๆ อย่าง Cloud หรือ iTune ซึ่งบริการเหล่านี้ก็มีผู้ใช้งานจำนวนมาก จึงทำให้สินค้าและบริการของ Apple สามารถครอบคลุมความต้องการ ของผู้ใช้งานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
3. CEO
อีกหนึ่งสิ่งที่ Warren Buffett ชื่นชอบก็คือ การบริหารงานของ Tim Cook ซีอีโอ Apple ที่เน้นให้ความสำคัญกับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสื่อสาร และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้พนักงานมีพื้นที่สำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ รวมถึงสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาได้ โดยทิศทางการบริหารที่โดดเด่นนี้ จึงพาองค์กรให้สามารถเติบโตได้ ไม่แพ้ยุคของ Steve Jobs เลย
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้ Warren Buffett เข้าไปลงทุนในหุ้น Apple ในสัดส่วนกว่า 50% เลยทีเดียว และที่สำคัญ ครั้งหนึ่งเขายังได้พูดในการประชุมประจำปี 2566 ของ Berkshire Hathaway ไว้ว่า “Apple เป็นบริษัทที่มีผลงานดีที่สุดของ Berkshire Hathaway” และ “iPhone ยังสำคัญต่อผู้บริโภคมากกว่ารถยนต์คันที่ 2” อีกด้วย
สำหรับใครที่สนใจอยากลงทุนในบริษัท Apple เช่นเดียวกับ Warren Buffett ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนเปิด MEGA10 ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10-A), กองทุนเปิด MEGA10 ชนิดเพื่อการออม (MEGA10-SSF) และกองทุนเปิด MEGA10 เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10RMF) ได้แล้ว
โดยกองทุนนี้จะไปลงทุนใน 10 บริษัทที่เป็นผู้นำในด้านตราสินค้าระดับโลก ที่คนทั่วโลกต่างใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
เช่น Apple, Google, Microsoft* เป็นต้น
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวการณ์การลงทุน ณ ขณะนั้น
MEGA10 มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกที่จดทะเบียนซื้อขายใน NYSE/NASDAQ ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) จากการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับตราสินค้า (Brand) ระดับสากล และคัดเลือกจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ที่มีสภาพคล่องสูงสุด 10 บริษัทแรก
กองทุนจะลงทุนในตราสารทุนจำนวน 10 บริษัท ตามวิธีการคัดเลือกที่กำหนดในสัดส่วนการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.talisam.co.th
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียด และเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส talisam.co.th
โทร. 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 และ ผู้สนับสนุนการขายหลายราย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
3. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
6. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
9. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
10. บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
11. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
12. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
14. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
15. บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
16. บริษัทหลักทรัพย์พาย จำกัด (มหาชน)
17. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
20. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
21. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
24. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
25. บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
26. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
27. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
28. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
29. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้
คำเตือน :
- กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
- ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
© 2024 MONEY LAB. All rights reserved. Privacy Policy.